22.04.2561 มัณฑะเลย์ (หม่านดะเล้) เป็นอดีตเมืองหลวงและเมืองใหญ่อันดับที่สองของเมียนมารองจากนครย่างกุ้ง ตั้งอยู่ในภูมิภาคมัณฑะเลย์.
มัณฑะเลย์
บทความนี้เกี่ยวกับเมือง สำหรับความหมายอื่น ดูที่ มัณฑะเลย์ (แก้ความกำกวม)
มัณฑะเลย์ မန္တလေး | |
---|---|
![]()
กำแพงพระราชวังมัณฑะเลย์
| |
ที่ตั้งเมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า | |
พิกัดภูมิศาสตร์: 21°58′30″N 96°5′0″Eพิกัดภูมิศาสตร์: 21°58′30″N 96°5′0″E | |
ประเทศ | พม่า |
ภูมิภาค | มัณฑะเลย์ |
อำเภอ | มัณฑะเลย์ |
ผู้ก่อตั้ง | พระเจ้ามินดง |
การปกครอง | |
• ผู้ว่าราชการ | เย ลวิน |
พื้นที่[1] | |
• ตัวเมือง | 163.84 ตร.กม. (63.26 ตร.ไมล์) |
ความสูง | 22 เมตร (70 ฟุต) |
ประชากร (2014)[2] | |
• ตัวเมือง | 1,726,889 |
• ความหนาแน่น | 11,000 คน/ตร.กม. (27,000 คน/ตร.ไมล์) |
• เขตเมือง | 1,319,452 |
• นอกเมือง | 407,437 |
• ชาติพันธุ์ | พม่า, อินเดีย, จีน, ไทใหญ่ |
• ศาสนา | พุทธเถรวาท, คริสเตียน, ฮินดู, อิสลาม |
เขตเวลา | MMT (UTC+6:30) |
รหัสพื้นที่ | 02[3] |
ทะเบียนพาหนะ | MDY |
เว็บไซต์ | www.goldencity.asia |
มัณฑะเลย์ (พม่า: မန္တလေးမြို့ หม่านดะเล้) เป็นอดีตเมืองหลวง และเมืองใหญ่อันดับที่สองของพม่ารองจากนครย่างกุ้ง ตั้งอยู่ในภูมิภาคมัณฑะเลย์ ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำอิรวดี ห่างจากย่างกุ้งไปทางทิศเหนือ 716 กิโลเมตร ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1857 โดยพระเจ้ามินดง โดยตั้งชื่อตามภูเขามัณฑะเลย์ที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งมีความสูง 775 ฟุต
มัณฑะเลย์เป็นเมืองศูนย์กลางการค้าทางตอนเหนือของพม่า และถือเป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศรองจากย่างกุ้ง นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญบนเส้นทางการค้าระหว่างอินเดียกับจีน และรัฐบาลพม่ายังให้ความสำคัญโดยตั้งนิคมอุตสาหกรรมขึ้นในปี พ.ศ. 2533 ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทเข้ามาดำเนินการประมาณ 1,000 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นโรงงานถลุงเหล็ก และโรงงานผลิตอุปกรณ์เครื่องจักรกล มัณฑะเลย์ยังเป็นเมืองศูนย์กลางคมนาคม มีทั้งท่าเรือและท่าอากาศยานนานาชาติมัณฑะเลย์
ด้านสาธารณูปโภค[แก้]
ถนนที่ใช้รองรับการขนส่งอยู่ในสภาพค่อนข้างดี สาธารณูปโภคพื้นฐานอื่น ๆ อาทิ น้ำประปา ไฟฟ้า โรงพยาบาล สถานีอนามัย มีคุณภาพ มีการให้บริการที่ดี ส่วนระบบโทรคมนาคม มีความสะดวกสบายพอสมควร สามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ อีกทั้งยังสามารถรับสัญญาณโทรทัศน์จากประเทศไทยได้บางช่องสัญญาณ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น